ปัจจุบันสกุลเงินคริปโตเคอเรนซี่และแพลตฟอร์มบล็อกเชนเกิดขึ้นใหม่มาอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญคือมีการพัฒนาให้ดีกว่าแพล็ตฟอร์มบล็อกเชนรุ่นก่อน ๆ โดยนำจุดด้อยมาปรับปรุงเพื่อให้นักลงทุน และนักพัฒนาเกิดความสนใจ โดย Cardano ซึ่งมีตัวย่อสกุลเงินคือ ADA Coin ถือเป็นอีกทางเลือกที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อยโดยเฉพาะกับนักลงทุนชาวไทย และที่สำคัญยังได้รับฉายาว่า “Ethereum Killer” อีกด้วย เรามาทำความรู้จักไปพร้อมกันว่า Cardano และ ADA COIN คืออะไร น่าลงทุนไหม และมีโปรเจคอะไรที่น่าสนใจ
ที่มาจุดเริ่มต้นของ Cardano


Cardano ถูกสร้างขึ้นในปี 2015 โดย นาย Charles Hoskinson ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum นอกจากนั้นยังเป็น CEO ของบริษัท Input Output Cardano Foundation (IOHK) ที่ทำหน้าที่ดูแลระบบของ Cardano โดยนาย Charles เขามองว่าผู้คนยังต้องการบล็อกเชน 3.0 เพื่อที่จะแก้ปัญหาของบล็อกเชนรุ่นเก่า ๆ อย่างบล็อกเชน 2.0 เช่น Ethereum โดย Cardano มีที่มาจาก Gerolamo Cardano นักคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ชาวอิตาลี
ส่วน ADA ย่อมาจาก Ada Lovelance ชื่อของนักคณิตศาสตร์ และเป็นคนที่ได้ชื่อว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก เริ่มแรก ADA มี Supply อยู่ราว 25 พันล้านเหรียญ ADA และแบ่งให้กับบริษัทหุ้นส่วน คือ Input Output Cardano Foundation และ Emurgo จำนวณ 5 พันล้านADA รวมเป็นทั้งหมด 30 พันล้านADA จาก Max Supply 45 พันล้านADA นั่นหมายความว่าเหรียญ ADA เหลือ Supply อีกแค่ประมาณ 30 % จากทั้งหมดเท่านั้นที่ผู้พัฒนาเขาเก็บไว้สำหรับจ่ายเป็นรางวัลให้กับคนที่นำ ADA มา Stake นั่นเอง
หากอ่านมาจนถึงตรงนี้ยังไม่ค่อยเข้าใจไม่ต้องห่วงครับเราจะขยายความต่อในหัวข้อถัดไป
Cardano และ ADA Coin คืออะไร
Cardano เป็นอีกแพลตฟอร์มบล็อกเชนซึ่งเหรียญคริปโตที่ใช้ผ่านแพลตฟอร์มนี้เรียกกันว่า ADA จุดเด่นของ Cardano คือ สามารถทำสัญญา Smart Contract หรือสัญญาที่กำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ได้ รวมถึงการสร้าง Decentralized Application (Dapp) บนบล็อกเชนของ Cardano ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันกับที่สามารถทำได้บน Ethereum ส่วนเหรียญ ADA ก็ใช้สำหรับในการจ่ายค่าธรรมเนียม (Gas) เมื่อเกิดการทำธุรกรรมผ่านแพลตฟอร์ม
Cardano มีโปรโตคอลที่ชื่อว่า โอโรโบรอส (Ouroboros) โดยโปรโตคอลนี้จะประมวลผลธุรกรรมด้วยระบบ Proof Of Stake โดย คนที่ขุดเหรียญ ADA Coin คือ Node ของแพลตฟอร์ม Cardano ซึ่ง Node จะถูกสุ่มขึ้นมาจำนวณหนึ่งให้รับหน้าที่เป็น สล็อตลีดเดอร์ (Slot Leader) หรือก็คือรับหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบการทำธุรกรรม คล้ายกับการขุด Bitcoin แต่จะแตกต่างตรงที่คุณไม่ต้องเปิดคอมพิวเตอร์ของคุณทั้งวันทั้งคืนเพื่อเข้ารหัสลับ เพียงแค่นำเหรียญ ADA ไป Stake หรือฝากไว้ก็พอ โดยคุณจะได้รับผลตอบแทนเป็นเหรียญ ADA หรือเหรียญอื่นที่ Decentralized Exchange (DEX) นั้นจ่ายผลตอบแทนให้คุณโดยโอกาสที่จะถูกสุ่มนั้นขึ้นอยู่กับ จำนวณเหรียญ ADA ที่เอาไป Stake หรือฝากไว้นั่นเอง
นอกจากนั้น โปรโตคอล โอโรโบรอส ยังช่วยให้การทำธุรกรรมรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เนื่องจากโดยทั่วไป บล็อกเชนจะประกอบด้วย บล็อก และเรียงต่อกันไปเป็นเส้นเดียวหรือ เชนเดียว เปรียบเสมือนการมีถนนที่วิ่งได้แค่เลนเดียวนั่นเอง แต่เจ้าโอโรโบรอสช่วยแก้ปัญหาตรงจุดนี้เพราะออกแบบให้สามารถซอยย่อยบล็อกออกไปเป็นหลาย ๆ เชน โดยแต่ละเชนเรียกว่า Slot และ Slotleader ก็จะแยกกันรับผิดชอบการตรวจสอบการทำธุรกรรมแยกกันแต่ละ Slot
จากที่กล่าวเอาไว้ว่าเพลตฟอร์ม Cardano สามารถทำสัญญากำหนดเงื่อนไข (Smart Contact) ได้จึงไปตรงกับแพลตฟอร์มชื่อดังอย่าง Ethereum ซึ่งก่อนหน้าถือเป็นเจ้าแรกและเจ้าเดียวที่เปิดให้ใช้ Smart Contract แต่ในปัจจุบันมีหลาย ๆ บล็อกเชนที่เริ่มพัฒนาเจ้า Smart Contact มาแข่งกับ Ethereum กันค่อนข้างเยอะเลยทีเดียว Cardano ก็เป็นหนึ่งในนั้นแถมมีประสิทธิภาพมากกว่าซะด้วย
เหตุผลที่ Cardano (ADA) ถูกขนานนามว่า Ethereum Killer
จากความหมายและระบบของ Cardano ที่ได้กล่าวไปจะเห็นว่าสิ่งที่ทำให้แพลตฟอร์มนี้ถูกขนานนามให้เป็น Ethereum Killer มาจากการที่พวกเขาพัฒนาระบบออกมาได้เหมือนกับ Ethereum ทุกประการ ทั้งเรื่องของการทำสัญญา Smart Contract และการนำเอาระบบ Proof Of Stake (POS) มาใช้ ซึ่งระบบนี้มีความรวดเร็ว และประหยัดพลังงานมากกว่าระบบ Proof Of Work (POW) และมีค่า gas ที่ถูกกว่า ส่งผลให้นักลงทุนจำนวนมากย่อมชื่นชอบและมองว่า Cardano เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่ายขึ้น ให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ จึงเกิดการลงทุนมากกว่า Ethereum ผู้เชี่ยวชาญจึงให้ฉายานี้กับพวกเขาไปนั่นเอง


แนวทางการแก้ปัญหาของ Ethereum
แน่นอนว่าเมื่อเกิดคู่แข่งขันที่พัฒนาระบบแบบเดียวกันแต่ทำได้เหนือกว่า ส่งผลให้ Ethereum เองก็ไม่ยอมน้อยหน้าและพยายามที่จะปรับปรุงระบบของตนเองให้ดีขึ้นกว่าเดิมเพื่อเรียกนักลงทุน และนักพัฒนา ให้กลับมาหาพวกเขาอีกครั้ง วิธีแก้ปัญหาคือ Ethereum ได้เลือกนำเอาระบบ Proof Of Stake (POS) เข้ามาใช้งานด้วย เป็นการอัปเกรดจากระบบเดิมในชื่อ ETH 2.0 แต่ด้วยรูปแบบการพัฒนาที่ทาง Cardano มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้มากกว่านี่จึงเป็นสิ่งที่ต้องจับตามองถึงอนาคตว่าท้ายที่สุดผลลัพธ์จะออกมาอย่างไร Cardano จะฆ่า Ethereum ได้แบบตายสนิทหรือไม่
อนาคตของ Cardano
ต้องขอเกริ่นก่อนว่า Cardano นั้นถูกแบ่งไว้ทั้งหมด 5 ยุค โดยจะตั้งชื่อแต่ละยุคตามชื่อของนักกวี ดังนี้
1.ยุคแรก มีชื่อว่ายุค ไบรอน (Byron) คือยุคเริ่มแรกของการพัฒนาตัวบล็อกเชนของ Cardano ที่ใช้โปรโตคอล โอโรโบรอส รวมถึงการสร้างชุมชน หรือ Community เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้คนให้เข้ามาใช้งานแพลตฟอร์ม Cardano กันให้มากขึ้น
2.ยุคถัดไปมีชื่อว่า เชลลีย์ (Shelley) ในยุคนี้เป็นการพัฒนาต่อจากยุค ไบรอน เพื่อเพิ่มความราบรื่น และความปลอดภัยในการทำธุรกรรมให้มากยิ่งขึ้น เพราะในยุคไบรอนนั้น ยังไม่มี Node ของ Cardano ทำให้ระบบยังห่างไกลจากการเป็น Decentralized หรือการกระจายอำนาจที่เป็นจุดขายของเทคโนโลยีบล็อกเชน แต่ในยุคของเชลลีย์ Cardano เริ่มมีคนนำเหรียญมา Stake หรือ ฝากไว้เพื่อเข้าร่วมเป็น Node กันมากขึ้น ส่งผลให้มีระบบการกระจายอำนาจ และมีการเติบโตของ Network อย่างต่อเนื่อง ทำให้ระบบความปลอดภัยของ Cardano แข็งแกร่งไม่แพ้แพลตฟอร์มบล็อกเชนรุ่นพี่อย่าง Ethereum แต่ในยุคนี้ก็ยังนับว่าเป็นรอง Ethereum อยู่ค่อนข้างมาก เพราะยังไม่มี Smart Contact
3.ยุคที่สาม หรือ จะเรียกว่าเป็นยุคปัจจุบัน (2021) ของ Cardano ก็ว่าได้ ในยุคนี้มีชื่อว่า โกเก้น (Goguen) โดยในยุคนี้เริ่มมีการนำ Smart Contact เข้ามาใช้งาน รวมถึงเริ่มเปิดให้นักพัฒนาเข้ามาสร้าง แอปพลิเคชั่นแบบกระจายศูนย์ หรือ Decentralized Application (Dapp) บนแพลตฟอร์มของ Cardano ได้อีกด้วย โดยภาษาที่ใช้ในการเขียนแอปจะเป็นภาษา Haskell ซึ่งมีความเข้าใจได้ง่ายมากกว่า Solidity ที่เป็นภาษาสำหรับใช้งานบนแพลตฟอร์มของ Ethereum นอกจากนั้น Cardano เขาค่อนข้างมีการอำนวยความสะดวกให้กับนักพัฒนาค่อนข้างมากเพราะเขามีแพลตฟอร์มสำหรับพัฒนา Decentralized Application ที่มีชื่อว่า Malowe Playground โดยทาง Cardano เขาเคลมว่าเป็นแพลตฟอร์มสร้างแอปพลิเคชั่นที่ใช้งานง่ายมาก ซึ่งผู้ที่ไม่ได้เป็น โปรแกรมเมอร์ ก็สามารถสร้างสัญญาอัจฉริยะทางการเงินได้เช่นกัน…
ตอนนี้ถ้าเรียงตาม Roadmap ของ Cardano ก็เรียกได้ว่าเขาเดินมากันถึงครึ่งทางแล้ว อีกสองยุคที่เหลือจะเป็นสิ่งที่ทาง Cardano กำลังจะพยายามไปให้ถึงในอนาคต
4.ยุค บาโช (Basho) ทาง Cardano เขามีความต้องการที่จะสร้าง Sidechain เป็น Blockchain ใหม่ที่จะสามารถทำงานร่วมกันกับ Cardano ซึ่งเป็นเชนหลักได้ เพื่อที่จะขยายขีดความสามารถของเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะออกมาในรูปแบบไหนเราคงต้องติดตามกันต่อไป
5.ยุค วอลแตร์ (Voltaire) อย่างที่เรารู้กันว่าในยุคของ เชลลีย์ เริ่มมีระบบการกระจายอำนาจบ้างแล้ว แต่ทาง Cardano เขามองว่ามันยังไม่ใช่การกระจายอำนาจที่สมบูรณ์แบบมากพอ เนื่องจากการตัดสินใจบางอย่างยังขึ้นอยู่กับทีมผู้บริหารบริษัท IOHK โดยพวกเขาตั้งใจว่าจะให้ Node หรือ ผู้ถือ ADA Coin เปรียบเสมือนผู้ถือหุ้นบริษัท สามารถออกเสียงโหวตกำหนดทิศทางนโยบาย และอนาคตของ Cardano ได้นั่นเอง เพื่อการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง และไม่อยู่ภายใต้การบริหารแต่เพียงผู้เดียวของ IOHK อีกต่อไป
ADA COIN คืออะไร น่าลงทุนไหม ?
ADA Coin คือ เหรียญที่ใช้สำหรับการจ่ายค่าธรรมเนียมบนแพลตฟอร์มของ Cardano แต่อีกหนึ่งประโยชน์ที่เรียกได้ว่าเป็นที่นิยมเสียยิ่งกว่าจุดประสงค์หลักที่กล่าวไปข้างต้นเสียอีก คือการใช้ ADA Coin เพื่อ การลงทุน และ เก็งกำไร นั่นเอง การเก็งกำไรก็คือ การที่เราซื้อเหรียญ ADA Coin ณ ราคาใดราคาหนึ่ง โดยคาดหวังว่าราคาของเหรียญจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ถ้าหากสนใจลงทุนในรูปแบบการเก็งกำไร ต้องขอยกการวิเคราะห์ของนาย Benjamin Cowen โดยนาย Cowen เขาบอกว่า ADA Coin เป็นหนึ่งในไม่กี่เหรียญที่ไม่อ่อนไหวต่อการขึ้นลงของราคา Bitcoin ซึ่งราคาของ ADA Coin ร่วงลงมาเพียง 22 % เท่านั้นเมื่อเทียบกับ Bitcoin ทำให้เห็นว่า ADA Coin มีแนวโน้มเป็นขาขึ้นที่ค่อนข้างแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับเหรียญอื่น โดยมีแนวรับสำคัญ 1.12-1.08 USD/ADA
ราคา ADA COIN Real-Time : CLICK
ในส่วนของการลงทุนนั้น คือ การ Stake เหรียญ หรือ การร่วมเป็น Node ของ Cardano โดยการ Stake เจ้าของ ADA Coin จะได้รับรางวัลตอบแทนเป็น ADA Coin ซึ่งสามารถ Stake ผ่าน Exchange ได้เลย เช่น Binance (ปล. บาง Exchange ยังไม่เปิดให้ Stake เหรียญ ADA Coin)
ลงทะเบียน Binance Exchange : CLICK
SundaeSwap DEX ที่สามารถนำเหรียญ ADA ไป Swap ได้!!!
SundaeSwap คือ Decentralized Exchange (Dex) ที่อยู่บนบล็อกเชนของ Cardano ซึ่งเปิดให้สามารถนำ เหรียญ ADA มา Stake นอกจากนี้ยังมีระบบ Initial Stakepool Offering คือเมื่อคุณนำเหรียญ ADA มา stake คุณจะได้รับรางวัลเป็นเหรียญ Sundae โดยเหรียญนี้สามารถนำไปใช้ปลดล็อค exclusive feature ของทาง SundaeSwap ได้ ส่วนวิธีการนำเหรียญ ADA ไป stake บน SundaeSwap มีดังนี้
1.ทำการสร้าง wallet ที่ซัพพอร์ตกับ sundaeswap เช่น Daedalus,Yoroi และ Asalite เป็นต้น
2.ถอนเหรียญ ADA ของเราจาก Exchange เช่น Bianance Bitkub เป็นต้น ไปเก็บไว้ใน wallet โดยใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที
3.นำเหรียญไป stake บน pool ของ Sundaeswap กันได้เลย
เท่านี้เราก็ได้คำตอบกันไม่มากก็น้อยแล้วว่า Cardano (ADA) คืออะไร น่าลงทุนไหม และมีโปรเจคอะไรที่น่าสนใจ เราก็คงจะต้องจับตากันต่อไปว่า ราคาของเหรียญ ADA และ โปรเจคของ Cardano จะไปได้ไกลและเปลี่ยนแปลงโลกได้มากขนาดไหน สำหรับนักลงทุนชาวไทยเองหากคิดจะลงทุนในเหรียญคริปโตอย่าลืมศึกษาข้อมูลให้ละเอียดเพื่อลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองด้วย