SputnikTH
  • HOME
  • BLOGS
    • Knowledge
    • News
    • Project Crypto Series
    • NFTs
  • ABOUT
  • CONTACT
  • Privacy Policy
No Result
View All Result
SputnikTH
  • HOME
  • BLOGS
    • Knowledge
    • News
    • Project Crypto Series
    • NFTs
  • ABOUT
  • CONTACT
  • Privacy Policy
No Result
View All Result
SputnikTH
No Result
View All Result
อีเธอร์เรียม (Ethereum) คืออะไร ทำไมถึงได้ชื่อว่าเป็น Internet Of Value

อีเธอร์เรียม (Ethereum) คืออะไร ทำไมถึงได้ชื่อว่าเป็น Internet Of Value

August 27, 2021
in KNOWLEDGE, Project Crypto series
Share on FacebookShare on Twitter

หากใครที่กำลังติดตามศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับ คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) นอกจาก บิทคอยน์ (Bitcoin) เหรียญยอดนิยมอันดับหนึ่ง ก็คงจะเคยได้ยินชื่อของเหรียญอีกหนึ่งเหรียญ ที่เรียกได้ว่าเป็นอันดับสองรองจาก บิทคอยน์ มาอย่างยาวนาน นั้นก็คือ อีเธอร์เรียม (Ethereum) แล้ว อีเธอร์เรียม คืออะไร แตกต่างจากบิทคอยน์อย่างไร ในบทความนี้มีคำตอบ…

อีเธอร์เรียม คืออะไร ?

อีเธอร์เรียมเกิดขึ้นมาใน ปี ค.ศ. 2015 โดยผู้สร้างชาวรัสเซีย Vitalik Buterin แน่นอนว่าไม่ใช่นามแฝงเช่นเดียวกับ ผู้สร้าง บิทคอยน์อย่าง Satoshi Nakamoto ซึ่ง นาย Vitalik เองก็เคยอยู่ในทีมพัฒนาของ บิทคอยน์ แต่เขามีความคิดว่า บิทคอยน์ นั้นยังมีส่วนที่สามารถพัฒนาได้อีก แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนสักเท่าไหร่ นาย Vitalik จึงตัดสินใจแยกตัวออกมาเพื่อสร้างโปรเจคใหม่ชื่อว่า อีเธอร์เรียม และในภายหลังก็เริ่มมีคนสนับสนุนเขามากขึ้น

ถ้าถามว่า อีเธอร์เรียม คืออะไร หลายคนคงจะตอบว่ามันคือเหรียญ คริปโทเคอร์เรนซี แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ครับ อีเธอร์เรียม คือ Open-Source Platform ที่สร้างขึ้นมาจาก บล็อกเชน ส่วนเหรียญคริปโทเคอร์เรนซีเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ อีเธอร์เรียมเท่านั้น ชึ่งชื่อของเหรียญก็คือ Ether(ETH) หรืออ่านว่า อีเธอร์

อีเธอร์เรียม (Ethereum) คืออะไร ทำไมถึงได้ชื่อว่าเป็น Internet Of Value

Open Source คืออะไร ?

Open Source คือการเปิดให้นำ Source Code ของ อีเธอร์เรียม โดยเฉพาะที่เป็นจุดแข็งของเขาอย่าง Smart Contact ไปพัฒนาต่อได้ฟรี ๆ โดยปกติแล้ว Application หรือ Website ที่เราใช้ในปัจจุบันด้านหลังจะมี Source Code อยู่ ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นความลับสุดยอดของผู้พัฒนา Application หรือ Websiteนั้น ๆ เนื่องจากถ้ามีคนรู้ ก็จะสามารถเลียนแบบ Application หรือ Website ขึ้นมาใหม่โดยที่มีหน้าตาและความสามารถเหมือนเดิมเป๊ะ ๆ ได้เลย แต่กรณีของ Open Source คือ กรณีที่เจ้าของ Source Code ต้องการให้คนอื่นนำ Source Code ของตนเองไปพัฒนาต่อได้

โดย Application ที่สร้างขึ้นบน Ethereum Platform จะทำงานอยู่บนระบบ บล็อกเชน(Blockchain) หรือเรียกอีกอย่างว่า Decentralized Application เรียกสั้น ๆ ว่า แดป หรือดีแอป (Dapp) แล้วมันต่างจาก Application ทั่ว ๆ ไปที่เราใช้งานในปัจจุบันอย่างไร สิ่งที่ต่างนั้นก็คือ Decentralized Application สามารถทำให้ผู้ใช้งาน ทำข้อตกลง เซ็นสัญญา ทำธุรกรรมทางการเงิน หรือ ซื้อขายสินค้า ได้แบบโดยตรงไม่มีตัวกลางใด ๆ เพราะทุกวันนี้ Application ที่เราใช้ทั่ว ๆ ไปข้อมูลจะไปผ่านบริษัทตัวกลางก่อน เช่น Shopee Lazada Grab เป็นต้น ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ ของเราโดยพาะอย่างยิ่งข้อมูลทางการเงิน จะถูกเก็บไว้บน คลาวด์ (Cloud) ซึ่งหากเหล่า Hacker ต้องการจะ Hack ข้อมูลของเราก็สามารถทำได้โดยง่ายเพียงโจมตีไปที่ศูนย์กลางของระบบ

จะเห็นได้ว่า Application หรือ Website แบบเดิม ๆ มีความปลอดภัยในการจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานต่ำมาก ซึ่งแตกต่างจาก Decentralized Application เพราะระบบนี้จะไม่มีศูนย์กลาง แต่จะกระจายข้อมูลไปยัง Node หรือ Network ของ อีเธอร์เรียมแทน ทำให้การ Hack ข้อมูลเหล่านี้ในทางปฏิบัตินั้นทำได้ยากมาก

มีข้อดีขนาดนี้ จะไม่มีข้อเสียเลยคงจะเป็นไปไม่ได้ เพราะ Decentralized Application นั้นไม่ได้สร้างกันง่าย ๆ โปรแกรมเมอร์ที่อยากจะมี Application ที่ Run อยู่บน อีเธอร์เรียม จะตองเรียนรู้ภาษาใหม่ที่ชื่อว่า Solidity ตรงนี้จึงเป็นจุดอ่อนเพราะมีนักพัฒนาที่เล็งเห็นถึงข้อด้อยนี้ เขาจึงไปสร้างระบบใหม่ที่เหนือกว่า โดยเป็น Smart Contact แบบเดียวกับ อีเธอร์เรียม แต่ว่าใช้ภาษาในการพัฒนาที่ง่ายกว่า

แม้ว่าจะมีเรื่องของความยากในการพัฒนาแต่อีเธอร์เรียมก็ยังคงเป็นอันดับ 2 รองจาก บิทคอยน์มาอย่างยาวนาน ทุกคนคิดว่าเป็นเพราะอะไร คำตอบนั้นก็คือ…ก็เพราะว่ายังมีสิ่งที่สำคัญกว่าภาษาที่ยากหรือง่าย เนื่องจากอีเธอร์เรียมเกิดขึ้นมานาน ที่สำคัญคือ อีเธอร์เรียมเขามีผู้ใช้งาน และจำนวณของ Node หรือ ผู้ขุดเหรียญ ETH ที่มากกว่าเหรียญที่พึ่งเกิดขึ้นมาใหม่ โดยจำนวน Node นี่แหละที่ทำให้ อีเธอร์เรียมมีระบบความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือมากกว่าระบบ Smart Contact ของบล็อกเชนอื่น

 

Decentralized Application (Dapp)

ถ้าหากว่าใครสนใจอยากสร้าง Decentralized Application (Dapp) สามารถไปศึกษาต่อได้ที่ CLICK

Ethereum Token คืออะไร

อีเธอร์เรียมยังเปิดให้คนสามารถเข้าไปสร้าง อีเธอร์เรียมโทเคน (Ethereum Token) โดย Token ก็คือ เหรียญคริปโทเคอร์เรนซี ที่สร้างบนระบบ บล็อกเชนที่มีอยู่แล้ว สมมติว่าผมต้องการสร้างเหรียญเป็นของตัวเอง ผลก็สามารถไปสร้าง อีเธอร์เรียมโทเคนขึ้นมา และตั้งชื่อว่า เหรียญ Sputnik และเหรียญนี้แน่นอนว่ามีความน่าเชื่อถืออย่างมาก เพราะว่าเราใช้ระบบประมวลผลธุรกรรมของ อีเธอร์เรียม โดยในปัจจุบันมีอีเธอร์เรียมโทเคนเป็นพัน ๆ เหรียญ แล้วอีเธอร์เรียมจะได้อะไรจากการทำแบบนี้ล่ะนอกจากมีคู่แข่งที่เพิ่มมากขึ้น คำตอบก็คือ อีเธอร์เรียมจะได้รับส่วนแบ่ง เพราะ การจะทำธุรกรรมแต่ละครั้ง เขาจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเป็นเหรียญ ETH ซึ่งค่าธรรมเนียมการโอนแต่ละครั้งจะตกอยู่ที่ประมาณ 3-5 บาท และทำให้มีความต้องการใช้เหรียญ ETH มากขึ้น แน่นอนว่าความต้องการใช้มากก็จะส่งผลให้ราคาของเหรียญสูงขึ้น และเมื่อราคาสูงจะทำให้มีคนสนใจมาขุดเหรียญ ETH มากขึ้น Node ก็จะเพิ่มขึ้น และทำให้มีความน่าเชื่อถือในการตรวจสอบธุรกรรมของ อีเธอร์เรียม มากขึ้น ตามลำดับ

อีเธอร์เรียม แตกต่างจาก บิทคอยน์ อย่างไร

ระบบของบิทคอยน์ ใช้ได้แค่กับเรื่องของ คริปโทเคอร์เรนซี หรือ การทำธุรกรรมทางการเงินเท่านั้น แต่อีเธอร์เรียมเปิดกว้างมากกว่านั้น ก็คือเรื่องของ Decentralized Application ที่กล่าวไปข้างต้นนั้นเอง นอกจากนั้นอีกจุดเด่นที่ อีเธอร์เรียมเขาทำได้มากกว่าบิทคอยน์ นั้นก็คือ ระบบสัญญาอัจฉริยะ หรือ Smart Contact โดย Smart Contact คือการทำสัญญา หรือดำเนินการทำข้อตกลงต่าง ๆ ได้อย่างอัตโนมัติ โดยที่ไม่ต้องผ่านตัวกลางอย่าง รัฐบาล ธนาคาร หรือ ทนาย เป็นต้น ซึ่งสัญญาต่าง ๆ ที่เคยเป็นกระดาษเหมือนในปัจจุบัน จะมาอยู่ในรูปของ Code หรือ ภาษาคอมพิวเตอร์ และนำไปไว้บนระบบ บล็อกเชน

ซึ่งข้อดีของระบบนี้ก็คือ เมื่อข้อมูลนี้อยู่บนระบบบล็อกเชนก็จะไม่สามารถ ลบหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้เข้าไปตรวจสอบได้ด้วย ซึ่งมั่นใจได้เลยครับว่าจะไม่มีการโกง หรือการปลอมแปลงข้อมูล นอกจากนั้นยังช่วยย่นระยะเวลาในการตรวจสอบเอกสารด้วย สรุปได้ว่า ระบบ Smart Contact มีทั้งความรวดเร็วและความโปร่งใส และแน่นอนว่าสะดวกขนาดนี้เขาคงไม่ให้เราใช้ฟรี ๆ อยู่แล้ว โดย Smart Contact ที่ Run อยู่บนบล็อกเชนของ อีเธอร์เรียม ต้องเสียเงินไม่ฟรีนะครับ โดยอีเธอร์เรียมจะมีการเก็บค่าธรรมเนียม หรือ ค่าแก๊ส (Gas) โดยค่าแก๊ส คือ สิ่งที่ผู้ใช้ Smart Contact ต้องจ่าย เพราะการทำธุรกรรม จะต้องให้คนที่มาช่วยทำการประมวลผลธุรกรรม หรือคนที่ขุดเหรียญ ETH ซึ่งเมื่อคนเหล่านั้นมาช่วยประมวลผลแล้ว จึงต้องมีค่าตอบแทนให้กับเขาด้วยเช่นกัน

อีเธอร์เรียม 2.0 คืออะไร

Ethereum 2.0

Application (App) VS Decentralized Application (Dapp)

เนื่องจากมีผู้ใช้งาน Smart Contact ของอีเธอร์เรียมอย่างมหาศาลในปัจจุบัน ทำให้ระบบของ อีเธอร์เรียมเริ่มที่จะมีปัญหาเรื่องของความเร็วในการประมวลผล และค่าธุรกรรมที่แพงขึ้น ทำให้อีเธอร์เรียมต้องทำการปรับปรุงแก้ไข โดยมีแผนสร้าง อีเธอร์เรียม 2.0 ที่สามารถลบข้อด้อยของอีเธอร์เรียมรุ่นแรกให้หมดไป โดยมี 3 สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจาก อีเธอร์เรียมรุ่นแรก ดังนี้

1. อีเทอร์เรียม 2.0 จะเปลี่ยนมาใช้ระบบ Proof of Stake ซึ่งงเป็น Consensus Algorithm ชื่อดังที่พยายามจะเข้ามาแก้ไขปัญหาเดิมของระบบ Proof Of Work ซึ่งจะช่วยลดการใช้ทรัพยากรไฟฟ้าของเครื่องขุดได้อย่างมาก แถมยังให้ความเร็วในการประมวลผลที่สูงขึ้น เพราะวิธีที่ใช้เลือกคนที่จะมาสร้าง Block ถัดไปจะถูกตัดสินจากเงินค้ำประกัน โดยไม่ต้องเสียเวลามาแข่งกันขุดว่าใครจะเป็นผู้ชนะ และนอกจากนั้นยังช่วยลดความเสี่ยงจากการถูกโจมตีด้วยวิธีการ 51% Attack เนื่องจากต้องใช้เงินทุนมหาศาลเพื่อที่จะเอาชนะจำนวนเงินค้ำประกันที่ทุกคนลงไว้ในระบบให้ได้ 51%

อีเธอร์เรียม (Ethereum) คืออะไร ทำไมถึงได้ชื่อว่าเป็น Internet Of Value

proof of work vs proof of stake

2. อีกอย่างที่เพิ่มเข้ามาจาก อีเธอร์เรียมรุ่นแรกก็คือ Shard Chains โดยปกติแนวคิดของ บล็อกเชน คือการต่อ Block จนได้ออกมาเป็น Chain เพียงสายเดียว ซึ่งเวลาจะใช้งานจึงจำเป็นต้องโหลดข้อมูลของ Chain ทั้งหมดก่อน ทำให้ความเร็วในการประมวลผลธุรกรรมอยู่ที่ประมาณ 15 Transactions ต่อวินาที แต่แนวคิดของ Shard Chain นั้นเขาจะแบ่ง บล็อกเชน เส้นเดียวเป็นเส้นย่อย ๆ แล้วจะเรียกว่า Subset Of Shards ผลที่ได้ก็คือเมื่อประมวลผลข้อมูลก็ไม่จำเป็นต้องโหลดข้อมูลทั้ง Chain อีกต่อไป แต่จะทำการโหลดแค่ข้อมูลจาก Subset เดียว ซึ่งจะทำให้ความเร็วในการประมวลผลรวดเร็วขึ้น อธิบายอย่างง่ายก็คือเหมือนกับว่ามี บล็อกเชน หลาย ๆ เส้นทำงานพร้อมกันนั่นเอง
3. Becon Chain เนื่องจากระบบ Shard Chain ข้างต้นนั้นเราจะพบปัญหาว่าข้อมูลแต่ละสายนั้น ข้อมูลไม่มีความเชื่อมโยงกัน ดั้งนั้นจึงจำเป็นต้องมี บล็อกเชน ที่คอยเชื่อมโยง Shard ต่าง ๆ ไว้ด้วยกันนั้นก็ คือ Becon Chain

อีเธอร์เรียม มีจุดแข็งที่โดดเด่น และเป็นที่น่าจับตามอง ถ้าโลกของเราก้าวสู่โลกของ smart contact เมื่อไหร่ ก็ไม่แน่ว่า อีเธอร์เรียม อาจจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวันของเรา และแน่นอนว่าถ้าเป็นแบบนั้น เหรียญ ETH เองก็คงจะมีความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

ShareTweet

Related Posts

Oasis Network (ROSE Coin) คืออะไร และ 7 เหตุผลที่ Oasis Network เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีที่สุดของนักพัฒนา DApp
KNOWLEDGE

Oasis Network (ROSE Coin) คืออะไร และ 7 เหตุผลที่ Oasis Network เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีที่สุดของนักพัฒนา DApp

Oasis Network คืออะไร ? Oasis Network (Rose Coin) คือ แพลตฟอร์มบล็อกเชน...

February 21, 2022
Gala Music คืออะไร ฟังเพลงสร้างรายได้แบบ Listen To Earn และวิธีการซื้อ Player Nodes
KNOWLEDGE

Gala Music คืออะไร ฟังเพลงสร้างรายได้แบบ Listen To Earn และวิธีการซื้อ Player Nodes

อุตสาหกรรมเพลงได้เข้าร่วมกับระบบกระจายอำนาจมาสักพัก แต่ยังไม่แพร่หลายถึงขนาดที่มีศิลปินจำนวนมากนำผลงานเข้ามาลง และมีผู้ฟังย้ายจากแพลตฟอร์มสตรีมเพลงที่เป็น Centralized ไปสู่แพลตฟอร์ม Decentralized เองก็ยังนับว่าเป็นแค่ส่วนน้อย แต่ถึงอย่างนั้นแพลตฟอร์มสตรีมเพลงที่เป็น Decentralized นั้นเอื้อประโยชน์ให้กับทั้งศิลปิน...

February 16, 2022
Bonfida (FIDA) คืออะไร ทำไมต้องจดโดเมนบน Solana มาจดชื่อโดเมน .Sol กันเถอะ !
KNOWLEDGE

Bonfida (FIDA) คืออะไร ทำไมต้องจดโดเมนบน Solana มาจดชื่อโดเมน .Sol กันเถอะ !

ก่อนหน้านี้เราเคยพูดถึง Domain NFT และการจด Domain ด้วย Unstoppable Domains ซึ่ง NFT...

January 28, 2022
Metastrike (MTS Token) เกม NFT แนวยิงปืน FPS แบบ Play To Earn เตรียมจะเปิดตัวในวันที่ 27 มกราคม 2022
NFTs

Metastrike (MTS Token) เกม NFT แนวยิงปืน FPS แบบ Play To Earn เตรียมจะเปิดตัวในวันที่ 27 มกราคม 2022

หลายคนคงจะรู้จักเกมอย่าง Counterstrike และ Call of Duty แต่คงจะดีใช่ไหมครับ ถ้าเกมแนวนี้สามารถเล่นเพื่อสร้างรายได้แบบ Play To...

January 23, 2022

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

About

Sputnikth เราเชื่อว่า Blockchain Technology ไม่ใช่แค่เรื่องไกลตัว แต่เรามองว่ามันคืออนาคต และเป็นอนาคตอันใกล้แค่เอื้อมเท่านั้น เราจึงมีเป้าหมายที่อยากให้คนไทย ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับ Blockchain , Cryptocurrency , Defi และ NFTs ที่ลึกซึ้ง แต่ไม่ยากจนเกินจะทำความเข้าใจ

RSS SPUTNIKTH

  • การขายที่ดินของ The Sandbox ในงาน Shibuya LAND Sale ย่านแหล่งช้อปปิ้งในโตเกียว สายคาวาอี้ห้ามพลาด !!! April 7, 2022 KAFKA
  • Gala เตรียมสร้างบล็อกเชนเป็นของตัวเองในโปรเจ็กต์ GYRI March 8, 2022 KAFKA

Categories

No Result
View All Result
  • HOME
  • BLOGS
  • ABOUT
  • CONTACT
  • Privacy Policy

© 2021 SputnikTH - Blockchain & Crypto News by SputnikTH.

No Result
View All Result
  • HOME
  • BLOGS
    • Knowledge
    • News
    • Project Crypto Series
    • NFTs
  • ABOUT
  • CONTACT
  • Privacy Policy